วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

สรุปวิจัย
ชื่อเรื่อง : การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้เขียน : ณัฐชุดา สาครเจริญ

หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วิธีการดำเนินการ
1.ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะกระบวนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (Pretest) ก่อนทดลอง
2. ผู้วิจัยทำการดำเนินการทดลองในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ด้วยการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ ใช้เวลาทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3วัน ใน วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันละ 40 นาที รวม 24 ครั้ง ทำการทดลองในช่วงเวลา 09.3010.10 น. วันที่ 25 มกราคม 2548วันที่ 24 มีนาคม 2548 ผู้วิจัยดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนในการจัดกิจกรรมตามวัน และเวลาดังนี้
3. เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย (Posttest) หลังเสร็จสิ้นการทดทอง โดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่ใช้ในการทดลองก่อนทดลอง
4. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย  มาตรวจให้คะแนนและนำไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติต่อไป

สรุปผล
1. พัฒนาการกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังจากจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้โดยภาพรวมและจำแนกตามทักษะอยู่ในระดับดี
2. พัฒนาการกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังจากจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1


บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่7
วันอังคาร ที่20 กันยายน 2559
..................................................

Knowledge
• อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาคัดลายมือครั้้งที่3 ซึ่งจะคัดทุกครั้งก่อนเข้าสู่เนื้อหาการเรียนการสอน เพื่อเป็นการฝึกเขียนตัวอักษรอย่างเป็นระเบียบและสวยงาม และนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับเด็กในอนาคต

• กรอบมาตรฐาน
-สิ่งมีชีวิต
-กระบวนการสิ่งมีชีวิต

• อากาศจะอยู่ทุกๆที่ เพราะอากาศก็ต้องการที่อยู่เช่นกัน อากาศจะพยายามปรับสมดุลตลอดเวลา อากาศร้อนที่เบากว่าก็จะพยายามลอยขึ้นไปหาอากาศเย็นเพื่อลดความร้อนของตัวเอง ส่วนอากาศเย็นที่หนักกว่านั้นก็จะลอยลงมาสวนทางกันกับอากาศร้อน เพื่อปรับสภาพของตนให้กลายเป็นสภาพที่อบอุ่น และการที่อากศร้อนและเย็นเคลื่อนที่ไปมาอย่างนี้ จึงทำให้เกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ลม

• วาดมือตนเอง แล้วนำสีเมจิกมาวาดเส้นคร่อมลงไปดังภาพ โดยมีระยะห่างกันไม่มาก จะสังเกตได้ว่าเมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วาพจะมีการสะท้อนสิ่งที่เด่นชัดขึ้นมา 


• สาธิตวิธีการไหลของน้ำ ดังภาพ
ถ้ายกถาดลงต่ำน้ำจะไหลลงมาข้างล่างได้ดี เพราะน้ำจะไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ
แต่ถ้ายกถาดเสมอกับต้นน้ำ น้ำจะไม่ไหลเพราะมีความสมดุล



• สาธิตการไหลของน้ำ2 ดังภาพ
ถ้าน้ำอยู่ในระดับเดียวกันจะมีความสมดุลกัน ไม่ว่าจะยกสูงหรือต่ำ ระดับน้ำจะเท่ากัน 


• การดูดซึม
พับกระดาษเป็นรูปดอกไม้ และตกแต่งให้สวยงาม จากนั้นพับกลีบดอกเข้าข้างใน ข้างล่างของดอกไม้จะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ดังภาพ จากนั้นนำดอกไม้ไปลอยน้ำในกะละมังที่เตรียมไว้ สังเกตได้ว่ากลีบของดอกไม้จะค่อยๆบานออกทีละนิด และบานทุกกลีบในที่สุด
สรุป การทดลองนี้สามารถสังเกตได้ว่าน้ำมีการแทรกตัวเข้าไปในพื้นที่ของกระดาษทำให้มีการดูดซึม เมื่อน้ำดูซึมกระดาษส่วนพื้นที่ของกระดาษที่เปียกก็จะอ่อนและซึมไปกับน้ำ

•กระบวนการทดลอง
-ตั้งปัญหา ทำอย่างไรดอกไม้จึงจะบาน
-ตั้งสมมติฐาน ถ้านำเอากระดาษวางผลน้ำจะเกิดอะไรขึ้น
-ทดลอง นำดอกไม้กระดาษวางลงบนผิวน้ำ
-สังเกต บางดอกบานช้า,เร็ว 
-เก็บข้อมูล 
-สรุป การที่ดอกไม้บานได้เพราะการดูดซึมของน้ำ






• การนำเสนอของเล่นกลุ่ม
-กล่องพิศวง
เป็นกล่องที่ภายนอกปิดมิดชิดแต่จะเจาะรูเล็ก1รู ไว้เพื่อดูข้างในกล่อง ซึ่งในกล่องจะเป็นวัตถุสิ่งของรูปภาพต่างๆที่เพื่อนตกแต่ง และจะมีไฟฉายสาดแสงอยู่ในนั้น เพื่อส่องเข้าไปจึงเห็นสิ่งของภายใน


-กล้องเพอริสโคป
เป็นกล้องที่ทำจากกล่องสี่เหลี่ยมทรงกระบอก และกระจก เมมีกระจกอยู่ข้างบนและล่างของตัวกล้อง ซึ่งวางให้สะท้อนกันไปมา ทำให้คนที่ส่องจากข้างล่างของกล้อง มองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างหน้าได้


-กล้องส่องสะท้อน
เป็นกล้องที่ทำจากขวทรงกระบอกยาว ภายในจะมีกระจกอยู่3ทิศทาง และมีกรวดลูกปัดต่างๆ เมื่อมองลอดเข้าไปจะเห็นว่ามีลูกปัดทุกอันอยู่3อัน


-ไฟฉายมหาสนุก
เป็นการเปลี่ยนสีของไฟที่เปล่งแสงออกมา โดยเกิดขึ้นจากการนำกระดาษแก้วสีต่างๆมาครอบไฟฉายไว้ เมื่อเปิดไฟฉาย ก็จะส่องแสงออกมาเป็นสีต่างๆได้ตามต้องการ


Skills
-การคิดวิเคราะห์ถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสื่อแต่ละชนิดที่อาจารย์นำมา
-การตั้งใจแลพยายามทำผลงานให้ออกมาดีและสมบูรณ์
-การคิดเชื่อมโยงถึงความหมายที่แท้จริงเพื่อตอบคำถามที่อาจารย์ถาม

Apply
-การคัดลายมือทำให้ส่งผลดีต่ออาคตคือมีทักษะการเขียนหนังสือที่ดี
-การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่แปลกใหม่และมีคุณสมบัติที่น่าสนใจ
-การประดิษฐ์สื่อที่สามารให้ความรู้แก่เด็กปฐมวัยได้เป็อย่างดีและเข้าใจง่าย

Assessment
Place
-มีอากาศที่หนาวแอร์ แต่อยู่ในความพอดีของอุณหภูมิร่างกาย
-ทุกคนนั่งเรียนอย่างสงบและตอบคำถามเมื่อครูถาม
-โต๊ะ-เก้าอี้เพียงพอสำรหับนักศึกษาทุกคน และนั่งเรียนโดยไม่บังกัน

Myself
-มีความตั้งใจฟังและรับความรู้จากสื่อที่อาจารย์ให้ศึกษาเป็นอย่างดีพร้อมสรุปใจความสำคัญ
-มีความรับผิดชอบในการทำงานมาส่งอาจารย์ตามที่อาจารย์ได้มอบหมายไป
-แต่งกายเรียบร้อยตามระเบียบข้อตกลงของห้องและเข้าเรียนตรงตามเวลาที่กำหนด

Classmate
-เพื่อนทุกคนมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติตามคำสั่งของอาจารย์
-เพื่อนทุกคนตั้งใจศึกษาดูงานที่อาจารย์ได้มอบหมายและมีความรับผิดชอบ
-เพื่อนทุกคนแต่งกายเรียบร้อยและเข้าเรียนตามเวลาที่กำหนด

Instructor
-อาจารย์ให้ความสำคัญกับงานของนักศึกษาทุกคนและให้คำแนะนำเป็นอย่างดี
-อาจารย์มีสื่อสารสอนที่น่าใจและมีการทดลองให้นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างใกล้ชอด
-อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยและเป็นมิตรกับนักศึกษาทุกคน


                                  ••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่6
วันอังคาร ที่13 กันยายน 2559
.................................................

Knowledge
• อาจารย์ให้นักศึกษาคัดลายมือ โดยคัดตามอักษรก-ฮ ตามรูปแบบหัวกลมตัวเหลี่ยม เพื่อฝึกให้นักศึกษาได้เขียนจนชินมือ เพื่อเป็นผลดีต่ออนาคตเป็นพื้นฐานการเขียนที่ดีเมื่อได้ไปสอนเด็กปฐมวัย


• อาจารย์ได้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ให้นักศึกษาได้ดู และศึกษาเพื่อเป็นแนวทางกระบวนการในการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ครั้งต่อไป 


• สาระการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมี4สาระคือ
   -เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
   -บุคคลและสถานที่
   -ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
   -สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

• อาจารย์มีสื่อให้นักศึกษาได้ดูและศึกษาว่าสื่อนี้เป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร เช่น แผ่นกระดาษ2แผ่นที่วาดรูปคล้ายกัน แผ่นแรกกวาดผู้หญิงไม่ยิ้ม แผ่นที่สองวาดผู้หญิงยิ้ม เมื่อเปิดผ่านเร็วๆก็จะทำให้เกิดภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เปรียบเสมือนเป็นภาพเดียวกันแค่เปลี่ยนสีหน้า เป็นต้น





Skills
-การคิดวิเคราะห์ถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสื่อแต่ละชนิดที่อาจารย์นำมา
-การตั้งใจแลพยายามทำผลงานให้ออกมาดีและสมบูรณ์
-การคิดเชื่อมโยงถึงความหมายที่แท้จริงเพื่อตอบคำถามที่อาจารย์ถาม

Apply
-การคัดลายมือทำให้ส่งผลดีต่ออาคตคือมีทักษะการเขียนหนังสือที่ดี
-การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่แปลกใหม่และมีคุณสมบัติที่น่าสนใจ
-การประดิษฐ์สื่อที่สามารให้ความรู้แก่เด็กปฐมวัยได้เป็อย่างดีและเข้าใจง่าย

Assessment
Place
-มีอากาศที่หนาวแอร์ แต่อยู่ในความพอดีของอุณหภูมิร่างกาย
-ทุกคนนั่งเรียนอย่างสงบและตอบคำถามเมื่อครูถาม
-โต๊ะ-เก้าอี้เพียงพอสำรหับนักศึกษาทุกคน และนั่งเรียนโดยไม่บังกัน

Myself
-มีความตั้งใจฟังและรับความรู้จากสื่อที่อาจารย์ให้ศึกษาเป็นอย่างดีพร้อมสรุปใจความสำคัญ
-มีความรับผิดชอบในการทำงานมาส่งอาจารย์ตามที่อาจารย์ได้มอบหมายไป
-แต่งกายเรียบร้อยตามระเบียบข้อตกลงของห้องและเข้าเรียนตรงตามเวลาที่กำหนด

Classmate
-เพื่อนทุกคนมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติตามคำสั่งของอาจารย์
-เพื่อนทุกคนตั้งใจศึกษาดูงานที่อาจารย์ได้มอบหมายและมีความรับผิดชอบ
-เพื่อนทุกคนแต่งกายเรียบร้อยและเข้าเรียนตามเวลาที่กำหนด

Instructor
-อาจารย์มีความรับผิดชอบถึงแม้ติดธุระก็มอบหมายงานให้นักศึกษาเสมอ
-อาจารย์อาจจะจัดสถานที่ให้นักศึกษาประชุมกันได้ไม่สะดวกเท่าที่ควร
-อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยและเป็นมิตรกับนักศึกษาทุกคน
                                  ••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••


วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่5
วันอังคาร ที่6 กันยายน 2559
...............................................

Knowledge
•อาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาทุกคนไปศึกษาความรู้ที่ห้องสมุดชั้น8 ซึ่งเป็นห้องสำหรับเปิดสื่อมัลติมิเดียขนาดใหญ่ และเรื่องที่อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปดูนั้นคือ เรื่องอากาศมหัศจรรย์ โดยมอบหมายให้นักศึกษาทุกคนได้เข้าชมจนจบ แล้วนำความรู้ที่ได้มาสรุปเป็นความเข้าใจของตนเอง


ลมคืออากาศที่เคลื่อนที่ได้
รอบๆตัวเรามีสิ่งที่เรียกว่าอากาศมนุษย์สัตว์หรือพืชก็ต้องการอากาศเพื่อใช้หายใจ อากาศสามารถอยู่ได้ทุกที่ ถึงแม้จะมองไม่เห็นแต่ก็มีตัวตน

การทดลองที่1
มีชามแก้วใส่น้ำ,ถ้วยแก้ว,กระดาษ
นำกระดาษติดลงไปในถ้วยแก้วจนแน่ใจว่าเมื่อเราคว่ำถ้วยแล้วกระดาษจะไม่หล่นลงมา แล้วจุ่มถ้วยแก้วในชามน้ำโดยให้ปากแก้วคว่ำลง แช่ทิ้งไว้สักพัก ยกถ้วยแก้วออก กระดาษจะไม่เปียกน้ำ
ผลการทดลอง ที่กระดาษไม่เปียก เพราะระหว่างกระดาษกับน้ำมีอากาศแทรกตัวอยู่นั่นเอง

อากาศร้อนมีน้ำหนักเบากว่าอากาศเย็น อากาศร้อนจะมีน้ำหนักอากาศที่เบาลง เช่นการผลิตบอลลูนให้ลอยได้โดยภายใต้ผ้าที่เราใช้ทำบอลลูนจะมีการจุดไฟ เพื่อเผาให้อากาศในตัวบอลลูนนั้น ร้อนจนสามารถยกตัวบอลลูนขึ้นไปได้ ถ้าเราอยากให้บอลูนลอยสูงขึ้นก็เร่งไฟให้แรงกว่าเดิม

การทดลองที่2
น้ำขวดโหลเปล่า2ใบ ขวดหนึ่งแช่ในน้ำร้อน อีกขวดแช่ในน้ำเย็น จากนั้นให้นำขวดทั้งสองใบมาประกบปากขวดกัน โดยให้ขวดที่แช่น้ำร้อนอยู่ข้างล่าง แล้วนำกระดาษแข็งมาคั่นตรงกลาง แล้วนำธูปมาจ่อตรงปากขวดที่แช่ในน้ำร้อนให้ควันควันธูปเข้าไปอยู่ในขวด แล้วประกบขวดเหมือนเดิม ค่อยๆดึงกระดาษแข็งออก จะเห็นว่า ควันธูปที่ลอยจากขวดที่แช่นำร้อนไปยังขวดที่แช่น้ำเย็น
นำขวดที่แช่น้ำร้อนไว้ข้างบนบ้าง ขวดที่แช่น้ำเย็นไว้ข้างล่าง เอากระดาษไว้ที่เดิม แล้วปล่อยควันธูปเข้าไปในขวดที่แช่เย็น เสร็จแล้วดึงกระดาษแข็งออก จะเห็นว่าควันธูปจะไม่ลอยขึ้นไปข้างบน แจ่จะจมอยู่ในขวดที่แช่น้ำเย็น
ผลการทดลอง อากาศจะพยายามปรับสมดุลตลอดเวลา อากาศร้อนที่เบากว่าก็จะพยายามลอยขึ้นไปหาอากาศเย็นเพื่อลดความร้อนของตัวเอง ส่วนอากาศเย็นที่หนักกว่านั้นก็จะลอยลงมาสวนทางกันกับอากาศร้อน เพื่อปรับสภาพของตนให้กลายเป็นสภาพที่อบอุ่น และการที่อากศร้อนและเย็นเคลื่อนที่ไปมาอย่างนี้ จึงทำให้เกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ลม

การทดลองที่3
ถ้าเราเป่าลมให้ผ่านทางด้านข้างของเทียนไข ไฟก็จะไม่ดับ เพราะลมพัดไม่โดนไฟ แต่ถ้าเราลองนำกล่องมาตั้งขวางทางลมและให้เอียงไปยังเทียนไข แล้วลองเป่าดูใหม่ เทียนไขก็จะดับลง
ผลการทดลอง ลมสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปตามวัตถุที่ขวางทางอยู่ได้ 

การทดลองที่4
สอดลูกโป่งใบใหญ่ไว้ใต้กองหนังสือ จากนั้นเป่าลูกโป่ง หนังสือจะค่อยๆถูกยก เพราะอากาศในลูกโป่ง
ผลการทดลอง เพราะใช้หลักแรงดันอากาศ เมื่อเราเป่าอากาศเข้าไปในลูกโป่ง อากาศก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น อากาศจึงต้องออกแรงให้ผิวลูกโป่งขยายตัวออก และแรงดันที่เพิ่มขึ้นมาก็ดันให้กองหนังสือลอยขึ้นมาได้

การทดลองที่5
มีขวดปากแคบอยู่ใบหนึ่ง และไข่ต้อมที่ปอกเปลือกแล้วหนึ่งฟอง เมื่อนำไข่ต้มยัดลงไปในปากขวดไข่จะไม่สามารถลงไปในขวดได้ ลองจุดไฟใส่ในขวดแล้วเอาไข่ใส่ไว้ข้างบน ไข่จะค่อยๆถูกดูดลงไป
ผลการทดลอง จุดไฟเข้าไปในขวดเพื่อทำให้อากาศร้อนขึ้นนั่นเอง อากาศร้อนจะมีแรงดันต่ำมาก อากาศเย็นข้างนอกจะมีแรงดันสูงกว่า จึงพยายามดันเข้าไปแทนที่ และแรงดันจากอากาศข้างนอกจึงดันให้ไข่ตกลงไปในขวดได้

เป็นต้น

•อาจารย์นัดรวมนักศึกษาทุกคนที่ตึกนวัตกรรม เพื่อให้นักศึกษานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ไปทำมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พร้อมกับสาธิตวิธีเล่นและการเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์


ของเล่นวิทยาศาสตร์ เรื่องแม่เหล็ก


วัสดุอุกรณ์
แม่เหล็ก


กระดาษ


ดินสอ


สีไม้


กาวสองหน้า


เทปใส


ฟิวเจอร์ปบอร์ด


กระดาษสีตกแต่ง



วิธีการทำ
วาดรูปแผนที่เส้นทาง หรือสถานที่ต่างๆตามต้องการลงบนกระดาษ แล้วระบายสีให้สวยงาม
ประดิษฐ์รถยนต์ขึ้นมาหนึ่งคันด้วยฟิวเจอร์บอร์ด ตกแต่งด้วยกระดาษสีต่างๆ 
นำแม่เหล็กมาติดใต้ท้องรถ แล้วนำแม่เหล็กขั้วตรงข้ามใช้ดูดแม่เหล็กข้างล่างของรถที่ซ้อนทับกระดาษ
วิธีการเล่น
นำรถมาวางตามเส้นทางแล้วนำแม่เหล็กอีกขั้วตรงกันข้าม มาดูดแม่เหล็กที่ติดใต้ท้องรถซึ่งดูดจากข้างล่างของกระดาษ จะทำให้รถเคลื่อนที่ไปมาได้ตามการบังคับการดูดของแม่เหล็ก
หลักการวิทยาศาสตร์
เกี่ยวกับเรื่องของคุณสมบัติแม่เหล็ก ซึ่งแม่เหล็กจะมี2ขั้ว ขั้วเหนือและขั้วใต้ ขั้วเหมือนกันจะผลักกัน ขั้วต่างกันจะดูดกัน 
บูรณาการรูปแบบสะเต็ม
Science / การเรียนรู้ถึงคุณสมบัติของแม่เหล็ก
Technology / การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
Engineering / ออกแบบของเล่นหรือการดัดแปลงวัสดุอุปกรณ์

Mathematics / การคาดคะเนระยะห่างที่สมมาตรกัน

Skills
-การคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับการทดลองในแต่ละกิจกรรมการทดลองการสรุปผลการทดลอง
-การคิดรวบยอดเพื่อวิเคราะห์ออกมาว่าในแต่ละการทดลองสิ่งที่ได้รับคืออะไร
-การคิดหาวิธีหาหลักการทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางมนการปรดิษฐ์ของเล่น

Apply
-การนำการทดลองไปเป็นสื่อการสอนให้กับเด็กๆและทำให้เราได้เข้าใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น
-การคิดค้นการทดลองใหม่ๆเพื่อหาข้อสรุปให้ได้เหมือนดังตัวอย่างการทดลองข้างต้น
-การเลือกของเล่นและสื่อที่ดีและมีประโยชน์ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กๆ

Assessment
Place
-อาจารย์เตรียมสถานที่ให้นักศึกษาศึกษาความรู้อย่างเป็นที่น่าพอใจ
-สถานที่ในการนำเสนอของเล่นไม่ค่อยสะดวกดีนักและไม่มีห้อง
-บริเวณด้านข้างมีผู้คนเข้าออกพลุกพล่านทำให้นักศึกษามีความอายเล็กน้อย

Myself
-มีความตั้งใจฟังและรับความรู้จากสื่อที่อาจารย์ให้ศึกษาเป็นอย่างดีพร้อมสรุปใจความสำคัญ
-มีความรับผิดชอบในการทำงานมาส่งอาจารย์ตามที่อาจารย์ได้มอบหมายไป
-แต่งกายเรียบร้อยตามระเบียบข้อตกลงของห้องและเข้าเรียนตรงตามเวลาที่กำหนด

Classmate
-เพื่อนทุกคนมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติตามคำสั่งของอาจารย์
-เพื่อนทุกคนตั้งใจศึกษาดูงานที่อาจารย์ได้มอบหมายและมีความรับผิดชอบ
-เพื่อนทุกคนแต่งกายเรียบร้อยและเข้าเรียนตามเวลาที่กำหนด

Instructor
-อาจารย์มีความรับผิดชอบถึงแม้ติดธุระก็มอบหมายงานให้นักศึกษาเสมอ
-อาจารย์อาจจะจัดสถานที่ให้นักศึกษาประชุมกันได้ไม่สะดวกเท่าที่ควร
-อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยและเป็นมิตรกับนักศึกษาทุกคน

                                       ••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกหลังการเรียน ครั้งที่4
วันอังคาร ที่30 สิงหาคม 2559
..............................................

Knowledge
• อาจารย์ได้ชี้แจงและอธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาในเอกสารแนวการสอนของวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชี้แจงในเรื่องของแผนการสอนในเทอมนี้ การทำงานส่ง ทั้งงานเดี่ยวงานกลุ่ม และการประเมินผลคะแนนเพื่อให้นักศึกษาได้ทราบรายละเอียดเกี่ยวการเรียนการสอนวิชานี้ในเทอมนี้ เพื่อเป็นการเข้าใจตรงกัน

 คาบนี้อาจารย์ได้นำเนื้อหาเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัยที่ให้นักศึกษาสรุปส่งในคาบที่แล้ว มาอธิบายสอนให้นักศึกษาเข้าใจโดยละเอียดในวันนี้
คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ3-5ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีดังนี้
พัฒนาการด้านร่างกาย
อายุ3ปี วาดและระบายสีอิสระได้
อายุ4ปี ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
อายุ5ปี เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้

พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ
อายุ3ปี แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
อายุ4ปี แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะกับบางสถานการณ์
อายุ5ปี ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง

พัฒนาการด้านสังคม
อายุ3ปี ชอบเล่นแบบคู่ขนาน
อายุ4ปี เล่นร่วมกับผู้อื่นได้
อายุ5ปี เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้

พัฒนาการด้านสติปัญญา
อายุ3ปี สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนแตกต่างกันได้
อายุ4ปี จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
อายุ5ปี บอกความแตกต่างของกลิ่นสีเสียงรูปรสรูปร่าง จำแนกหมวดหมู่ได้

ทฤษฎีการเรียนรู้
การทดลองของพาฟลอฟ
-สุนัข(กำลังหิวจัด)
-เครื่องวัดน้ำลาย
-ผงเนื้อ
-กระดิ่ง
ขั้นการทดลอง
-ก่อนวางเงื่อนไข...ให้ผงเนื้อ > น้ำลายไหล
                         ...เคาะกระดิ่ง > น้ำลายไม่ไหล
-ขณะกำลังวางเงื่อนไข...ให้ผงเนื้อ+เคาะกระดิ่ง > น้ำลายไหล
-หลังการวางเงื่อนไข   ...เคาะกระดิ่ง > น้ำลายไหล                           
การนำความรู้จากทฤษฎีไปใช้ในการเรียนการสอน
-ครูสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอนอันเป็นการวางเงื่อนไขที่ดี
-ครูวางตัวให้ผู้เรียนเกิดความศรัทธาเพื่อผู้เรียนจะได้รักวิชาที่ครูสอนด้วย
-ครูจัดบทเรียนให้น่าสนใจและเกิดความสนุกสนานได้ทั้งความรู้และความสนุกสนาน



หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
กีเซลเชื่อว่า พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
การพัฒนา...จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ,ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง,จัดกิจกรรมสร้างสรรค์
ฟรอยด์เชื่อว่า ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองที่ดีก็จะส่งผลต่อพัฒนาการ
การพัฒนา...ครูเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งการแสดงออก กาย วาจา,จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน
อิริคสันเชื่อว่า ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จเด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
การพัฒนา...จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี

•เมื่ออาจารย์สอนเนื้อหาข้างต้นจบ ก็ได้ให้นักศึกษาทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม กลุ่มละ4-5คน โดยมีวัสดุอุปกรณ์แจกให้คือ กระดาษ1แผ่น และคลิปหนีบกระดาษ1อัน กติกามีอยู่ว่า ให้นักศึกษาระดมความคิดที่จะนำวัสดุ2ชิ้นทำเป็นของเล่นหรืออะไรก็ได้เพื่อที่จะใช้สอนเกี่ยวกับเรื่องของอากาศให้กับเด็กปฐมวัย เมื่อทำเสร็จแล้ว ให้ออกมานำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหน้าห้อง หร้อมกับสาธิตวิธีเล่นหรือสอน และบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างของชิ้นนั้นกับวิทยาศาสตร์ว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร


กลุ่มที่1 พับกระดาษเป็นรถ 
การทดลอง -เป่ารถให้รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
                 -เป่ารถให้รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า โดยมีคลิป1อันหนีบอยู่ด้านหน้ารถ
ผล เป่าครั้งที่1 รถเคลื่อนที่ได้คล่องกว่าเป่าครั้งที่2 เพราะครั้งที่2มีคลิปหนีบอยู่ด้านหน้า



กลุ่มที่2 ใช้กระดาษ1แผ่น กับ คลิป
การทดลอง -ปล่อยกระดาษสู่พื้น
                  -ปล่อยคลิปลงสู่พื้น
ผล ปล่อยกระดาษจะลงสู่พื้นช้ากว่าการปล่อยคลิป เพราะกระดาษมีพื้นที่กว้าง ทำให้พื้นที่ของกระดาษต้านลมและค่อยๆร่อนลงมาสู่พื้นช้ากว่าคลิป 



กลุ่มที่3 วาดรูปฤดูกาลต่างๆเพื่อแสดงถึงสภาพอากาศที่แตกต่างกัน


กลุ่มที่4 ฉีกกระดาษแล้วหนีบด้วยคลิป
การทดลอง -ฉีกกระดาษแล้วพับเป็นเหมือนกลีบดอกไม้ แล้วเอาคลิปหนีบ 
                 -จากนั้นก็โยนหรือปล่อยจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
ผล ตัวกระดาษที่ฉีกที่หนีบด้วยคลิปนั้น หมุนตัวลงมาอย่างสวยงาม



กลุ่มที่5 พับนกแล้วเสียบด้วยคลิป
การทดลอง -เอากระดาษพัดตัวนก 
                 -เอากระดาษพัดตัวนกที่ถูกบังด้วยสมุด
ผล พัดครั้งแรกนกจะขยับเพราะไม่มีที่บดบัง ครั้งที่สองนกไม่ขยับเพราะมีสมุดกั้นลมเอาไว้



กลุ่มที่6 ทำกังหันลม
การทดลอง -พับกระดาษเป็นกังหันลมแล้ว เสียบด้วยคลิปที่คลายตัวให้เป็นแท่งยาว
                  -เมื่อมีลมพัดผ่านมากังหันจะหมุนเพราะลมเข้าไปตามช่อง พร้อมมีแรงต้านของกระดาษ

•เมื่อการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มผ่านไป อาจารย์ก็ได้สั่งการบ้านโดยให้ไปหาขอมูล อากาศเคลื่อนที่ได้อย่างไร พร้อมกับส่งในคาบต่อไปในอาทิตย์หน้า


Skills
-การคิดอย่างเป็นระบบการระดมความคิดกันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
-การวางแผนในการคิดประดิษฐ์สิ่งของในการทดลอง
-การยอมรับรับความคิดซึ่งกันและกันเพื่อให้งานออกมาดี

Apply
-สามารถนำความรู้เดิมไปพัฒนาต่อยอดสิ่งใหม่ให้เกิดองค์ความรู้ที่สมบูรณ์
-การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี
-การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กและการเรียนรู้ของเด็ก

Assessment
  Place
  -มีบรรยากาศที่ดีเหมาะแก่การเรียน เพราะทุกคนนั่งเรียนอย่างสงบ
  -การนั่งเรียนของทุกคนมีความเรียบร้อยดี นั่งอยู่กับที่ไม่ลุกไปไหน
  -มีความหนาวเย็นของแอร์ตกลงมาที่หน้าผาก

  Myself
  -ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่มและยอมรับความคิดเห็นเพื่อน
  -ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้งานเสร็จทันตามเวลา
  -แต่งกายสุภาพเรียบร้อยและไม่ส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนๆ

  Classmate
  -ทุกคนมีความกระตือรือร้นในการคิดวางแผนการทำงานของตนเอง
  -ทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมของอาจารย์เป็นอย่างดี
  -ทุกคนให้เกียรติอาจารย์ผู้สอนด้วยการนั่งเรียนอย่างสงบ
  Instructor
  -อาจารย์ชี้แจงเนื้อหารายละเอียดในการสอนให้เข้าใจเป็นอย่างดี
  -อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดและทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง
  -อาจารย์ใช้ระดับเสียงการพูดที่พอเหมาะในการใช้บรรยายการสอน